ระบบสารสนเทศความรู้ (Knowledge
Work Systems : KWS)
ระบบสารสนเทศความรู้ (KWS) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบงานสร้างความรู้ หรือ จัดการความรู้ เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรระดับวิชาชีพที่มีความรู้สูงและทักษะเฉพาะทาง
(Knowledge Workers) เช่น วิศวกร แพทย์ นักกฎหมาย ทนาย
นักวิทยาศาสตร์
ที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้นและใช้เป็นฐานรองรับการจัดการความรู้
(knowledge-based system) และอาจนำเทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์
หรือ Artificial Intelligence (AI)
มาประยุกต์ใช้ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ บริการใหม่
การจัดหมวดหมู่และบูรณาการความรู้ใหม่เข้าไปในองค์การ
เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน
ซึ่งหน่วยงานจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก
สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น
ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ
ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์ ตัวแบบ รูปแบบ เป็นต้น
ระบบสารสนเทศเพื่อสร้างความรู้
หรือ จัดการความรู้ หรือ Knowledge Work Systems (KWS) มีเครื่องมือสนับสนุนในการสร้างและจัดการความรู้หลายประเภท
โดยประยุกต์เครื่องมือต่าง ๆ
ให้สามารถจัดการความรู้ที่มีหลายรูปแบบและกระจัดกระจายในที่ต่าง ๆ ได้
ตัวอย่างเช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ หรือ Expert Systems (ES) ซึ่งเป็นระบบที่เก็บความรู้
และความชำนาญของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ
มาจัดเป็นหมวดหมู่ระบบ
ให้สามารถทำงานได้เสมือนหนึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเอง
เพื่อค้นหาความรู้ที่อาจกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งสารสนเทศในอดีตขององค์การ เป็นต้น
ระบบปัญญาประดิษฐ์ อื่น ๆ เช่น
Fizzy Logic เป็นเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ที่กำหนดความรู้ที่มีรูปแบบไม่ชัดเจน
เพื่อเลียนแบบคนในการแก้ปัญหาที่มีความไม่แน่นอน เช่น
การควบคุมการทำงานของเครื่องจักรจำนวนมาก เช่น ช่วงอุณหภูมิ การเร่งเครื่องยนต์
Genetic algorithms เป็น
อัลกอริทึมพัฒนาคำตอบสำหรับปัญหาเฉพาะด้าน เพื่อหาความพอดี ความเหมาะสม (fitness)
ในการออกแบบสินค้า และระบบตรวจสอบในอุตสาหกรรม
Hybrid AI systems เป็นการนำ
neural, fuzzy logic, genetic algorithms, ES มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อเลือกใช้ส่วนที่ดีที่สุดของเทคโนโลยีแต่ละอย่าง
Intelligence agents เป็น
ซอฟต์แวร์ที่มีการสร้างฐานความรู้ในระดับจำกัด เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาเฉพาะด้าน
ปัญหาซ้ำซาก ปัญหาที่คาดเดาไว้ เช่น โปรแกรม Wizard
-
เครื่องมือในการจัดการความรู้ร่วมกัน เช่น
ระบบสนับสนุนการทำงานกลุ่ม ระบบอินทราเน็ตขององค์การโดยอาจมีซอฟต์แวร์ระบบจัดการเนื้อหา หรือ Content
Management System (CMS) เพื่อรวบรวม
จัดหมวดหมู่และค้นหาเนื้อหาที่อยู่ในเอกสารจำนวนมากและหลากหลายขององค์การได้
-
เครื่องมือส่งผ่านความรู้ ตัวอย่าง คือ ระบบสารสนเทศสำนักงาน
ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร เช่น อีเมล์ การประชุมทางไกล ฯลฯ
และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากร เช่น การจัดการเอกสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น